We use cookies to personalise content and to provide you with an improved user experience. By continuing to browse this site you consent to the use of cookies. Please visit our cookie policy for further details. Privacy Policy | Cookies Policy

Tips พัดลมชาร์ป 16 นิ้ว




RoHS คืออะไร

RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายความรวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิด ที่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการทำงาน เช่น โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้นซึ่งหมายความว่า ชิ้นส่วนทุกอย่างที่ประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ตั้งแต่แผงวงจร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงสายไฟ จะต้องผ่านตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยสารที่จำกัดปริมาณในปัจจุบัน กำหนดไว้ 6 ชนิด ดังนี้

  1. ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
  2. ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
  3. แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.01% โดยน้ำหนัก
  4. เฮกซะวาเลนท์ (Cr-VI) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
  5. โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
  6. โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก

แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์บางอย่าง ที่ยังไม่สามารถใช้สารอื่นมาทดแทนได้ หรือสารที่ใช้ทดแทน มีอันตรายมากกว่า เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีสารปรอทเป็นส่วนประกอบ ตะกั่วในเหล็กอัลลอย นอกจากนี้ เครื่องมือด้านการแพทย์ และการทหาร ก็อยู่ในข้อยกเว้น

การดูแลรักษาพัดลม เพื่อให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

  • ควรวางพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
  • หมั่นทำความสะอาดตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบพัด และตะแกรงครอบใบพัด อย่าให้ฝุ่นละอองเกาะจับ
  • ระวังใบพัด และตะแกรงครอบใบพัด อย่าให้แตกหัก ชำรุด หรือโค้งงอผิดส่วนจะทำให้ลมที่ออกมามีความแรงหรือความเร็วลดลง
  • หมั่นทำความสะอาดช่องลมตรงฝาครอบมอเตอร์ของพัดลม ซึ่งเป็นช่องระบายความร้อนของมอเตอร์ อย่าให้มีคราบน้ำมัน หรือฝุ่นละอองเกาะจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของมอเตอร์ลดลง และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 สำหรับพัดลม

ฉลากประหยัดไฟ คือฉลากที่บ่งบอกระดับการใช้ไฟฟ้าและข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต่อปี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัดตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 โดยที่เบอร์ 5 หมายถึงประหยัดไฟมากที่สุด
โครงการพัดลมไฟฟ้าเบอร์ 5 ดำเนินการครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 โดยครอบคลุมเฉพาะพัดลมขนาดใบพัด 12 และ 16 นิ้ว ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 90 โดยการคำนวณประสิทธิภาพค่าการใช้งานของพัดลม จากอัตราการระบายอากาศ (มีหน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตรต่อนาที )กับ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ (มีหน่วยเป็นวัตต์)
การคำนวณค่าประสิทธิภาพ ให้นำอัตราการพ่นลม (ลูกบาศก์เมตรต่อนาที) หารด้วยกำลังไฟ (วัตต์) จะได้ค่าประสิทธิภาพค่าใช้งาน (มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร ต่อนาที ต่อวัตต์)

พัดลมที่ได้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 นั้น ต้องมีค่าประสิทธิภาพดังนี้

  • พัดลม 12 นิ้ว ต้องมีค่าประสิทธิภาพ 1.10 ขึ้นไป
  • พัดลม 16 นิ้ว ต้องมีค่าประสิทธิภาพ 1.30 ขึ้นไป

ข้อมูลเกี่ยวกับ ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ของพัดลม