We use cookies to personalise content and to provide you with an improved user experience. By continuing to browse this site you consent to the use of cookies. Please visit our cookie policy for further details. Privacy Policy | Cookies Policy

Tips หม้อหุงข้าวไฟฟ้าชาร์ปเชิงพาณิชย์




ข้าวติดก้นหม้อได้อย่างไร ได้วิธีการแก้ไข

ปัญหาหนึ่งที่สร้างความยุ่งยากให้แม่บ้านเป็นประจำคือ ข้าวติดก้นหม้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่บ้านที่ใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ไม่ได้เคลือบเทฟลอน จะไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้ทันทีหลังจากทานอาหารเสร็จ ต้องแช่น้ำทิ้งไว้ข้ามคืน

ผู้ที่ใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าแบบธรรมดา สามารถแก้ไขได้ไม่ยาก เพียงแต่ทันทีที่ดึงปลั๊กไฟฟ้าออกให้นำหม้อชั้นในแช่ลงในน้ำเย็นหรือน้ำก๊อก ธรรมดานี่เอง ปริมาณน้ำก็พอที่จะให้หม้อจมลงไปสัก 1 นิ้ว ทิ้งไว้ประมาณ 2–3 นาที เพียงเท่านี้ก็สามารถตักเสริฟได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องข้าวติดก้นหม้ออีกต่อ ไป เหมือนมีหม้อเคลือบเทฟลอนประจำบ้าน

หลักการง่ายๆที่ช่วยแก้ปัญหาข้าวติดกันหม้อนี้ได้จากความเข้าใจในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของแป้งเมื่อได้รับความร้อนและสูญเสียความร้อน เมื่อแป้งได้รับความร้อนและมีน้ำมากเกินพอก็จะพองตัวเกิดเป็นเจล มีความหนืดสูง หรือการเกิด เจลาติไนเซชั่น (Gelatinization) แต่เมื่อแป้งถูกทำให้เย็นตัวลงจะเกิดรีโทรกาเดชั่น (Retro gradation) หรือการเรียงตัวใหม่กลับเป็นผลึกและดันเอา น้ำออกจากโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหม้อชั้นในที่ทำจากอลูมิเนียมจะถ่ายเทความร้อนได้ดี ทำให้สามารถเกิดรีโทรกาเดชั่นได้เร็วยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ น้ำที่ถูกดันออกมาจากโครงสร้างแป้งจะเป็นตัวกั้นระหว่างข้าวกับ ก้นหม้อ

เพียงเท่านี้คุณแม่บ้านก็ไม่ต้องเผชิญปัญหาข้าวติดก้นหม้ออีกต่อไป

ข้อมูลอ้างอิง

  1. “หม้อหุงข้าว”. ฉลาดบริโภค. เมษายน, 2528, ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, หน้า 44–46.
  2. “หม้อหุงข้าวไฟฟ้า”. หมอชาวบ้าน. กุมภาพันธ์, 2537, ปีที่ 15, ฉบับที่ 178 , หน้า 38 – 39.
  3. Rao M. A. and Martel R. W. Phase/state transitions in foods: chemical, structural, and rheological changes. USA: Marcel Dekker Inc., 1998. (pp.95–110)

คำแนะนำวิธีช่วยประหยัดพลังงานจากการใช้หม้อหุงข้าว

  • ใส่น้ำเพื่อหุงข้าวในปริมาณที่เหมาะสมตามที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งาน การเติมน้ำมากเกินไปนอกจากจะทำให้ข้าวแฉะแล้ว ตัวหม้อยังหุงอยู่จนกว่าน้ำจะแห้งหมด ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
  • ควรเลือกใช้หม้อหุงข้าวที่มีขนาดเหมาะสมกับครอบครัว การที่เลือกหม้อหุงข้าวที่มีขนาดใหญ่เกินไปทำให้เกิดการสิ้นเปลืองไฟโดยไม่จำเป็น
  • การเปิดฝาหม้อในขณะที่ข้าวยังไม่สุก ทำให้สูญเสียความร้อน หม้อหุงข้าวจะทำงานนานยิ่งขึ้น

คำแนะนำสำหรับหม้อนึ่งข้าวเหนียว รุ่น ไอน้ำ

หลังจากนึ่งข้าวเหนียวด้วยหม้อนึ่งข้าวเหนียวรุ่น ไอน้ำ เสร็จแล้ว ไม่แนะนำให้เสียบปลั๊กทิ้งไว้ เมื่อข้าวเหนียวสุก ไฟแสดงขณะอุ่น (warm) สว่างขึ้น ให้ถอดปลั๊กเสียบและยกภาชนะนึ่งออก เพราะน้ำในหม้อในจะแห้ง ถ้าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ จะทำให้หม้อในเป็นคราบเหลืองไหม้ ได้ แต่ถ้าลูกค้าต้องการเสียบปลั๊กไว้ ควรเติมน้ำลงในหม้อใน

หุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้าชาร์ป เชิงพาณิชย์ ข้าวสุกไม่ทั่วหม้อจะทำอย่างไร

หม้อหุงข้าวชาร์ป เชิงพาณิชย์ มีความจุตั้งแต่ 5 - 10 ลิตร ถ้าท่านพบปัญหาหุงข้าวสุกไม่ทั่วหม้อ แก้ปัญหาโดยให้ท่านคนข้าวให้ทั่ว หลังจากหุงข้าวไปแล้วประมาณ 20 นาที จะทำให้ข้าวหุงขึ้นหม้อ สุกได้ทั่วถึงทั้งหม้อ