การเปรียบเทียบแรงดันน้ำจาก หน่วย BAR เป็น PSI (ปอนด์ต่อ ตร.นิ้ว)
ดังนั้น
แรงดันต่ำสุด 0.21 bar = 14.504 X 0.21 = 3.05 psi
แรดดันสูงสุด 3.34 bar = 14.504 X 3.34 = 48.44 psi
ข้อมูลอ้างอิง เรื่อง "ความดัน "
การที่จะเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นรุ่นใด ขนาดใดนั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งาน อุณหภูมิ และความแรงของน้ำเป็นสำคัญ ถ้าหากใช้ในกรุงเทพฯ อุณหภูมิของน้ำค่อนข้างสูง ความแรงของน้ำต่ำนั้น ให้เลือกใช้ขนาด 3,500 วัตต์ ถ้าหากอยู่ต่างจังหวัด อุณหภูมิของน้ำค่อนข้างเย็น หรือความแรงของน้ำในท่อสูง อาจพิจารณาเลือกใช้ขนาด 4,500 วัตต์ หรือ 6,000 วัตต์ จะดีกว่า เพราะว่าถ้าใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีกำลังไฟต่ำกับพื้นที่ที่น้ำเย็นจัด หรือความแรงของน้ำในท่อสูง ก็อาจจะได้น้ำที่ไม่มีความอุ่นเลย ทำให้เสียความรู้สึกเปล่า ๆ
เป็นการติดตั้งใช้กับน้ำระบบ 1 ท่อ ภายในบริเวณที่อาบน้ำโดยตรง เมื่อต้องการใช้งานก็จะเปิดก๊อกที่ติดมากับเครื่อง และเปิดเครื่องน้ำอุ่น ก็สามารถปรับอุณหภูมิน้ำอุ่นตามความต้องการ และใช้อาบโดยตรงกับฝักบัว ไม่เหมาะสำหรับการใช้กรณีต้องเติมน้ำในอ่างอาบน้ำ จะมีกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 3,500-6,000 วัตต์ และต้องทำอุณหภูมิสูงสุดได้ไม่เกิน 55 องศาเซลเซียส (ตาม มอก. 1693-2547)
การทำงาน เมื่อน้ำไหลเข้าหม้อต้มน้ำ จะได้รับความร้อนจากไส้ทำความร้อน ให้มีอุณหภูมิน้ำสูงขึ้น เมื่อไหลออกมาถึงฝักบัวก็ใช้การได้เลย
เป็นการติดตั้งใช้กับน้ำระบบ 2 ท่อ ซึ่งประกอบไปด้วย ท่อน้ำเย็น และท่อน้ำร้อน เมื่อน้ำไหลผ่านตัวเครื่องแล้วจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น แล้วส่งต่อไปเข้ากับก๊อกผสม เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถผสมน้ำร้อนที่ได้จากตัวเครื่อง กับน้ำเย็นจากท่อน้ำเย็น เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่เหมาะสมตามความต้องการ จะมีกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 6,000-10,000 วัตต์ และทำอุณหภูมิสูงสุดได้ไม่เกิน 95 องศาเซลเซียส (ตาม มอก. 1693-2547)
การเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ แรงดันน้ำภายในบ้าน เพราะว่ากลไกส่วนหนึ่งจะต้องอาศัยแรงดันน้ำเป็นตัวควบคุมการทำงาน ท่านจึงควรทราบวิธีการตรวจสอบแรงดันน้ำด้วยตนเอง คือ ใช้สายยางขนาดครึ่งนิ้ว ต่อเข้ากับก็อกน้ำ เปิดน้ำแล้วชูสายยางขึ้น ให้สูงกว่าตำแหน่งก็อกน้ำในระยะ 2 เมตร และให้สังเกตถ้าน้ำสามารถไหลออกจากปลายท่อสายยางได้ แสดงว่ามีแรงดันน้ำเพียงพอกับการใช้งาน
ฉลากประหยัดไฟ คือฉลากที่บ่งบอกระดับการใช้ไฟฟ้าและข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต่อปี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัดตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 โดยที่เบอร์ 5 หมายถึงประหยัดไฟมากที่สุด โครงการเครื่องทำน้ำอุ่น เบอร์ 5 ดำเนินการครั้งแรกใน พ.ศ. 2554 โดยครอบคลุมเครื่องทำน้ำอุ่นทุกขนาดกำลังไฟ โดยรุ่นที่ผ่านการทดสอบและได้รับฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 จะต้องมีค่าประสิทธิภาพพลังงานความร้อน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
IP ก็คือ International Protection ค่ามาตรฐานการป้องกัน ซึ่งจะเป็นค่าแสดงระดับการป้องกันของกล่อง แผงไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้านั่นเอง โดยที่ค่า IP นั้นจะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลัก คือ IPxx โดยที่ตัวเลขหลักแรกจะหมายถึงการป้องกันจากของแข็ง ส่วนตัวเลขหลักที่ 2 จะหมายถึงการป้องกันจากของเหลว
เช่น ค่า IP ของเครื่องทำน้ำอุ่นชาร์ป ได้ IP25
แสดงว่า เครื่องทำน้ำอุ่นชาร์ป ที่มีค่า IP25 สามารถป้องกันฝุ่นหรือของแข็งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12.5 มม. และป้องกันสายน้ำ (JET WATER) ได้ทุกทิศทาง
Copyright © 2016 Thaicity Co.,Ltd. All Rights Reserved. | Powered by Gramick House